สมบัติของสารประกอบไอออนิก
1. มีขั้ว เพราะสารประกอบไอออนิกไม่ได้เกิดขึ้นเป็นโมเลกุลเดี่ยว แต่จะเป็นของแข็งซึ่งประกอบด้วยไอออนจำนวนมาก ซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงยึดเหนี่ยวทางไฟฟ้า
2. ไม่นำไฟฟ้าเมื่ออยู่ในสภาพของแข็ง แต่จะนำไฟฟ้าได้เมื่อใส่สารประกอบไอออนิกลงในน้ำ ไอออนจะแยกออกจากกัน ทำให้สารละลายนำไฟฟ้าในทำนองเดียวกันสารประกอบที่หลอมเหลวจะนำไฟฟ้าได้ด้วยเนื่องจากเมื่อหลอมเหลวไอออนจะเป็นอิสระจากกัน เกิดการไหลเวียนอิเลคตรอนทำให้อิเลคตรอนเคลื่อนที่จึงเกิดการนำไฟฟ้า
3 . มีจุหลอมเหลวและจุดเดือดสูง ความร้อนในการทำลายแรงดึงดูดระหว่างไอออนให้กลายเป็นของเหลวต้องใช้พลังงานสูง
4 . สารประกอบไอออนิกทำให้เกิดปฏิกิริยาไอออนิก คือ ปฏิกิริยาระหว่างไอออนกับไอออน ทั้งนี้เพราะสารไอออนิกจะเป็นไอออนอิสระในสารละลาย ปฏิกิริยาจึงเกิดทันที
5 . สมบัติไม่แสดงทิศทางของพันธะไอออนิก สารประกอบไอออนิกเกิดจากไอออนที่มีประจุตรงกันข้ามรอบ ๆ ไอออนแต่ละไอออนจะมีสนามไฟฟ้าซึ่งไม่มีทิศทาง จึงทำให้เกิดสมบัติไม่แสดงทิศทางของพันธะไอออนิก
6. เป็นผลึกแข็ง แต่เปราะและแตกง่าย
2. ไม่นำไฟฟ้าเมื่ออยู่ในสภาพของแข็ง แต่จะนำไฟฟ้าได้เมื่อใส่สารประกอบไอออนิกลงในน้ำ ไอออนจะแยกออกจากกัน ทำให้สารละลายนำไฟฟ้าในทำนองเดียวกันสารประกอบที่หลอมเหลวจะนำไฟฟ้าได้ด้วยเนื่องจากเมื่อหลอมเหลวไอออนจะเป็นอิสระจากกัน เกิดการไหลเวียนอิเลคตรอนทำให้อิเลคตรอนเคลื่อนที่จึงเกิดการนำไฟฟ้า
3 . มีจุหลอมเหลวและจุดเดือดสูง ความร้อนในการทำลายแรงดึงดูดระหว่างไอออนให้กลายเป็นของเหลวต้องใช้พลังงานสูง
4 . สารประกอบไอออนิกทำให้เกิดปฏิกิริยาไอออนิก คือ ปฏิกิริยาระหว่างไอออนกับไอออน ทั้งนี้เพราะสารไอออนิกจะเป็นไอออนอิสระในสารละลาย ปฏิกิริยาจึงเกิดทันที
5 . สมบัติไม่แสดงทิศทางของพันธะไอออนิก สารประกอบไอออนิกเกิดจากไอออนที่มีประจุตรงกันข้ามรอบ ๆ ไอออนแต่ละไอออนจะมีสนามไฟฟ้าซึ่งไม่มีทิศทาง จึงทำให้เกิดสมบัติไม่แสดงทิศทางของพันธะไอออนิก
6. เป็นผลึกแข็ง แต่เปราะและแตกง่าย
สมบัติของโลหะ
- เป็นตัวนำไฟฟ้าได้ดี เพราะมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปได้ง่ายทั่วทั้งก้อนของโลหะ แต่โลหะนำไฟฟ้าได้น้อยลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น เนื่องจากไอออนบวกมีการสั่นสะเทือนด้วยความถี่และช่วงกว้างที่สูงขึ้นทำให้อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไม่สะดวก
- โลหะนำความร้อนได้ดี เพราะมีอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ได้ โดยอิเล็กตรอนซึ่งอยู่ตรงตำแหน่งที่มีอุณหภูมิสูง จะมีพลังงานจลน์สูง และอิเล็กตรอนที่มีพลังงานจลน์สูงจะเคลื่อนที่ไปยังส่วนอื่นของโลหะจึงสามารถถ่ายเทความร้อนให้แก่ส่วนอื่น ๆ ของแท่งโลหะที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าได้
- โลหะตีแผ่เป็นแผ่นหรือดึงออกเป็นเส้นได้ เพราะไอออนบวกแต่ละไอออนอยู่ในสภาพเหมือนกันๆ กัน และได้รับแรงดึงดูดจากประจุลบเท่ากันทั้งแท่งโลหะ ไอออนบวกจึงเลื่อนไถลผ่านกันได้โดยไม่หลุดจากกัน เพราะมีกลุ่มของอิเล็กตรอนทำหน้าที่คอยยึดไอออนบวกเหล่านี้ไว้
- โลหะมีผิวเป็นมันวาว เพราะกลุ่มของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ได้โดยอิสระจะรับและกระจายแสงออกมา จึงทำให้โลหะสามารถสะท้อนแสงซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้
- โลหะมีจุดหลอมเหลวสูง เพราะพันธะในโลหะ เป็นพันธะที่เกิดจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างวาเลนซ์อิเล็กตรอนอิสระทั้งหมดในด้อนโลหะกับไอออนบวกจึงเป็นพันธะที่แข็งแรงมาก
สมบัติของสารประกอบโคเวเลนต์
สารประกอบโคเวเลนต์มีสมบัติทั่วๆไป ดังนี้
1.มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ เป็นส่วนมาก เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมีค่าต่ำ ยกเว้นสารโคเวเลนต์พวกโครงผลึกร่างตาข่ายมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง ดังนี้
2.สถานะ สารประกอบโคเวเลนต์เป็นได้ทั้ง 3 สถานะ ที่สภาวะปกติส่วนมากมีสถานะเป็นแก๊สของเหลวหรือแก๊ส แต่ถ้ายึดเกาะเป็นโครงผลึกร่างตาข่ายจะมีสถานะเป็นของแข็ง
3.การละลายน้ำ สารประกอบโคเวเลนต์บางพวกละลายน้ำได้เช่น NH3 HCl C2 H5 OH C6 H12 O6มีบางชนิด เช่น CS2 CCl4 C6 H6 ไม่ละลายน้ำแต่ละลายได้ในตัวทำลายที่เหมาะสม
4.การนำไฟฟ้า สารประกอบโคเวเลนต์ส่วนมากไม่นำไฟฟ้าเพราะโมเลกุลเป็นกลางทางไฟฟ้า แตกตัวเป็นไอออนไม่ได้ แต่แกรไฟต์เป็นโครงผลึกร่างตาข่ายของคาร์บอนรูปหนึ่งสามารถนำไฟฟ้าได้บางส่วน
สารประกอบโคเวเลนต์มีสมบัติทั่วๆไป ดังนี้
1.มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ เป็นส่วนมาก เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมีค่าต่ำ ยกเว้นสารโคเวเลนต์พวกโครงผลึกร่างตาข่ายมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง ดังนี้
สารโคเวเลนต์ | จุดเดือด | สารโครงผลึกร่างตาข่าย | จุดเดือด |
ไฮโดรเจนคลอไรด์(HCl) | -85 | เพชร (C) | 4830 |
เอทานอล (C2 H5 OH) | 78.5 | ซิลิกอน(Si) | 2355 |
2.สถานะ สารประกอบโคเวเลนต์เป็นได้ทั้ง 3 สถานะ ที่สภาวะปกติส่วนมากมีสถานะเป็นแก๊สของเหลวหรือแก๊ส แต่ถ้ายึดเกาะเป็นโครงผลึกร่างตาข่ายจะมีสถานะเป็นของแข็ง
3.การละลายน้ำ สารประกอบโคเวเลนต์บางพวกละลายน้ำได้เช่น NH3 HCl C2 H5 OH C6 H12 O6มีบางชนิด เช่น CS2 CCl4 C6 H6 ไม่ละลายน้ำแต่ละลายได้ในตัวทำลายที่เหมาะสม
4.การนำไฟฟ้า สารประกอบโคเวเลนต์ส่วนมากไม่นำไฟฟ้าเพราะโมเลกุลเป็นกลางทางไฟฟ้า แตกตัวเป็นไอออนไม่ได้ แต่แกรไฟต์เป็นโครงผลึกร่างตาข่ายของคาร์บอนรูปหนึ่งสามารถนำไฟฟ้าได้บางส่วน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น