วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561

พันธะโคเวเลนต์

 หมายถึง พันธะในสารประกอบที่เกิดขึ้นระหว่างอะตอม 2 อะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีใกล้เคียงกันหรือเท่ากัน แต่ละอะตอมต่างมีความสามารถที่จะดึงอิเล็กตรอนไว้กับตัว อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะจึงไม่ได้อยู่ ณ อะตอมใดอะตอมหนึ่งแล้วเกิดเป็นประจุเหมือนพันธะไอออนิก หากแต่เหมือนการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันระหว่างอะตอมคู่ร่วมพันธะนั้นๆและมีจำนวนอิเล็กตรอนอยู่รอบๆ แต่ละอะตอมเป็นไปตามกฎออกเตต

ชนิดของพันธะโคเวเลนต์

เป็นพันธะที่เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนข้างนอกร่วมกันระหว่างอะตอมของธาตุหนึ่งกับอีกธาตุหนึ่ง
แบ่งเป็น 3 ชนิดด้วยกัน
1. พันธะเดี่ยว (Single covalent bond )เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 อิเล็กตรอน 
เช่น F2 Cl2 CH4 เป็นต้น
2. พันธะคู่ ( Doublecovalent bond ) เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันของธาตุทั้งสอง
เป็นคู่ หรือ 2 อิเล็กตรอน เช่น O2 CO2 C2H4 เป็นต้น
3. พันธะสาม ( Triple covalent bond ) เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 อิเล็กตรอน
 ของธาตุทั้งสอง เช่น N2 C2H2 เป็นต้น

โมเลกุลที่ไม่เป็นไปตามกฎออกเตต

    กฎออกเตตคือการที่อะตอมส่งอิเล็กตรอนมาใช้ร่วมกัน แล้วมีผลทำให้อิเล็กตรอนในระดับ
พลังงานนอกสุดของแต่ละอะตอมครบแปดอิเล็กตรอนเหมือนกับโครงสร้างของก๊าซเฉื่อย  
 ซึ่งมีความเสถียรมาก  (ยกเว้น H ครบ 2 เหมือนกับ He) เช่น H2O  แต่สารโคเวเลนต์บางชนิด
ใช้กับกฎนี้ไม่ได้ จึงมีข้อยกเว้นสำหรับกฎออกเตต ดังนี้
ข้อยกเว้นสำหรับกฎออกเตต

    1.  สารที่ไม่ครบออกเตต ได้แก่สารประกอบของธาตุ Be , B และ Al เช่น BeCl2 , BCl3
    ในโมเลกุลเบริลเลียมคลอไรด์ พบว่าเบริลเลียมมีอิเล็กตรอนล้อมรอบเพียง 4 อิเล็กตรอน

เท่านั้น หรือในโมเลกุลของโบรอนไตรคลอไรด์ พบว่าโบรอนมีอิเล็กตรอนเพียง 6 อิเล็กตรอน
เท่านั้น

    2. สารที่เกินออกเตต อะตอมของธาตุในโมเลกุลที่มีเวเลนต์อิเล็กตรอนมากกว่า 8 ได้แก่ สารประกอบของธาตุในคาบที่ 3 หมู่ 4 เป็นต้นไป เช่น

    ฟอสฟอรัสเพนตะคลอไรด์ (PCl5)  อะตอมฟอสฟอรัสใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนทั้ง 5  

อิเล็กตรอนสร้างพันธะกับคลอรีน 5  พันธะ      จึงมีอิเล็กตรอนล้อมรอบ 10 อิเล็กตรอน 
ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์
 (SF6)  อะตอมกำมะถันใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนทั้ง 6 อิเล็กตรอนสร้างพันธะกับฟลูออรีน
 6 พันธะ    
 จึงมีอิเล็กตรอนล้อมรอบ 12 อิเล็กตรอน เช่นเดียวกับอะตอมของซีนอนในซีนอนเตตร
ฟลูออไรด์  (XeF4)

การเขียนสูตรและเรียกชื่อสารโคเวเลนต์


    การเขียนสูตรสารประกอบโคเวเลนต์ (Formula of Covalent Compounds)

สูตรโมเลกุล
1. เขียนสัญลักษณ์ของธาตุที่เป็นองค์ประกอบเรียงตามลำดับของธาตุ และค่า
อิเล็กโทรเนกาติวิตี ตามหลักสากล  ดังนี้ คือ B, Si, C, Sb, As, P, N, H, Te, Se, S, At, I, Br, Cl, O, F 
ตามลำดับ
          2. ในสารประกอบโคเวเลนต์ ถ้าอะตอมของธาตุมีจำนวนอะตอมมากกว่าหนึ่งให้
เขียนจำนวนอะตอมด้วยตัวเลขแสดงไว้มุมล่างทางขวา ในกรณีที่ธาตุในสารประกอบนั้นมี
เพียงอะตอมเดียว
ไม่ต้องเขียนตัวเลขแสดงจำนวนอะตอม

สูตรโครงสร้าง
สูตรที่แสดงให้ทราบว่า โมเลกุลของสารประกอบด้วยธาตุใดบ้าง อย่างละกี่อะตอม และอะตอมของธาตุเหล่านั้นมีการจัดเรียงตัวหรือเกาะเกี่ยวกันด้วยพันธะอย่างไร ซึ่งแบบเป็น
แบบคือ
1.  สูตรโครงสร้างแบบจุด คือสูตรโครงสร้างที่แสดงถึงการจัดอิเล็กตรอนวงนอกสุด
ให้ครบออกเตตในสารประกอบนั้น โดยใช้จุด ( . ) แทนอิเล็กตรอน ตัว
2.  สูตรโครงสร้างแบบเส้น คือสูตรโครงสร้างที่แสดงถึงพันธะเคมีในสารประกอบนั้น
ว่าพันธะใดบ้าง โดยใช้เส้น ( - ) แทนพันธะเคมี เส้น เส้น แทนอิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกัน
 คู่

การเรียกชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ (Names of Covalent Compounds)

1.  อ่านชื่อธาตุที่อยู่ด้านหน้าก่อนตามด้วยธาตุที่อยู่ด้านหลัง โดยเปลี่ยนเสียงพยางค์
ท้ายเป็น -ด์ (ide )
2.  อ่านระบุจำนวนอะตอมของธาตุด้วยเลขจำนวนในภาษากรีก ได้แก่
3.  ถ้าธาตุแรกมีอะตอมเดียว ไม่ต้องอ่านระบุจำนวนอะตอมของธาตุนั้น 
 แต่ถ้าธาตุหลังมีเพียงหนึ่งอะตอมก็ต้องระบุจำนวนอะตอมด้วยเสมอ

ตัวอย่างการอ่านชื่อ

CO2      อ่านว่า คาร์บอนไดออกไซด์,              CO         อ่านว่าคาร์บอนมอนออกไซด์,
BF3       อ่านว่า โบรอนไตรฟลูออไรด์,             N2O       อ่านว่า ไดไนโตรเจนมอนอกไซด์,
N2O5     อ่านว่า ไดไนโตรเจนเพนตอกไซด์,    P4O10    อ่านว่าเตตระฟอสฟอรัสเดคะออกไซด์
OF2       อ่านว่า ออกซิเจนไดฟลูออไรด์,         CCl4       อ่านว่าคาร์บอนเตตระคลอไรด์

ความยาวพันธะและพลังงานพันธะ

    พลังงานพันธะ หมายถึง พลังงานที่น้อยที่สุดที่ใช้เพื่อสลายพันธะที่ยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม
คู่หนึ่งๆในโมเลกุลในสถานะแก๊ส  พลังงานพันธะสามารถบอกถึงความแข็งแรงของพันธะเคมีได้   
โดยพันธะที่แข็งแรงมากจะมีพลังงานพันธะมาก  และพันธะที่แข็งแรงน้อยจะมีพลังงานพันธะน้อย

    พลังงานพันธะเฉลี่ย หมายถึง ค่าพลังงานเฉลี่ยของพลังงานสลายพันธะ ของอะตอมคู่หนึ่งๆ 
ซึ่งเฉลี่ยจากสารหลายชนิด เช่น การสลายโมเลกุลมีเทน (CH4) ให้กลายเป็นอะตอมคาร์บอน
และไฮโดรเจน มีสมการและค่าพลังงานที่เกี่ยวข้องดังนี้
CH4(g) + 435 kJ  →  CH3(g) + H(g)
CH3(g) + 453 kJ  →  CH2(g) + H(g)
CH2(g) + 425 kJ  →  CH(g)  + H(g)
CH(g)  + 339 kJ  →  C(g) + H(g)
    เราจะเห็นได้ว่าการสลายพันธะระหว่าง C-H ในแต่ละพันธะของโมเลกุลมีเทน (CH4) จะใช้
พลังงานไม่เท่ากัน ดังนั้น เมื่อนำค่าพลังงานทุกค่ามาเฉลี่ย  ก็จะได้เป็นค่าพลังงานพันธะเฉลี่ย
นั่นเอง  
ดังแสดงในตาราง




    ความยาวพันธะ หมายถึง ระยะระหว่างจุดศูนย์กลางของนิวเคลียสของอะตอมทั้งสอง
ที่เกิดพันธะกัน (หน่วยเป็น Angstrom , 10-10 m , A0 )
(ที่มา : www.chem.ufl.edu/~chm2040/Notes/Chapter_11/covalent.html)


    จากหัวข้อการเกิดพันธะโคเวเลนต์ นักเรียนทราบแล้วว่าอะตอมไฮโดรเจน 2 อะตอมเข้า
ใกล้กันเป็นระยะทาง 0.74 อังสตรอม (หรือ 74 พิโคเมตร) ซึ่งเป็นระยะทางที่เหมาะสมในการ
เกิดพันธะโคเวเลนต์ระหว่างไฮโดรเจน  โดยระยะนี้เรียกว่า "ความยาวพันธะ"  โดยปกติแล้ว
เราสามารถหาความยาวพันธะของสารได้จากการศึกษาการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ (X-ray 
diffraction ; XRD) ผ่านผลึกของสาร  ทั้งนี้ความยาวพันธะระหว่างอะตอมคู่เดียวกันใน
โมเลกุลของสารต่างชนิดกัน จะมีค่าไม่เท่ากัน เช่น

สาร
สูตรโมเลกุล
ความยาวพันธะ O-H (pm)
น้ำ
H2O
95.8
เมทานอล
CH3OH
95.6





    ดังนั้น ความยาวพันธะระหว่างอะตอมคู่หนึ่ง จึงหาได้จากค่าเฉลี่ยของความยาวพันธะ
ระหว่างอะตอมคูjเดียวกันในโมเลกุลต่างๆ  เมื่อกล่าวถึงความยาวพันธะ โดยทั่วไป
จึงหมายถึง “ความยาวพันธะเฉลี่ย

    ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวพันธะกับพลังงานพันธะ
    ความยาวพันธะและพลังงานพันธะ จะสามารถเปรียบเทียบกันได้ก็ต่อเมื่อ
เป็นพันธะที่เกิดจากอะตอมของธาตุคู่เดียวกัน ถ้าเป็นอะตอมต่างคู่กันเทียบกัน
ไม่ได้ เช่น

    ดังนั้น ถ้าความยาวพันธะยิ่งสั้น พลังงานพันธะก็จะยิ่งมาก หรือพันธะมีความเสถียรมาก  
ซึ่งจากรูปเราสามารถสรุปได้ ดังนี้
1. ความยาวพันธะ พันธะเดี่ยว > พันธะคู่ > พันธะสาม
2. พลังงานพันธะ พันธะสาม > พันธะคู่ > พันธะเดี่ยว

แนวคิดเกี่ยวกับเรโซแนนซ์

    เรโซแนนซ์เป็นปรากฏการณ์ที่สามารถเขียนสูตรโครงสร้างได้มากกว่า 1 แบบ โดยทุก
แบบจะมีตำแหน่งของอะตอมในโมเลกุลเหมือนกัน ต่างกันที่การจัดเรียงอิเล็กตรอนรอบๆ 
อะตอม หรือต่างกันที่ลักษณะของพันธะในโมเลกุล กล่าวคืออิเล็กตรอนที่อยู่รอบ ๆ อะตอม 
หรืออิเล็กตรอนที่ใช้ในการสร้างพันธะสามารถเคลื่อนที่ย้ายจากอะตอมหนึ่งไปยังอีกอะตอม
หนึ่ง ทำให้ลักษณะของพันธะในโมเลกุลแตกต่างกันเกิดเป็นสูตรโครงสร้างที่ไม่เหมือนกัน 
จึงทำให้มีความยาวพันธะเท่ากันทุกพันธะ พลังงานพันธะเท่ากันทุกพันธะ และอิเล็กตรอน
ที่ใช้ร่วมกันเท่ากันทุกพันธะ เช่น โมเลกุลโอโซน พันธะโคเวเลนต์ที่เกิดระหว่างอะตอม
ของออกซิเจนกับออกซิเจนอีก 2 อะตอม ตามกฎออกเตตแสดงได้

Image result for แนวคิดเกี่ยวกับเรโซแนนซ์
      

    จากโครงสร้างลิวอิสทั้งสองนี้แสดงว่าออกซิเจนอะตอมกลางสร้างพันธะเดี่ยวกับ
ออกซิเจนอะตอมหนึ่ง      และสร้างพันธะคู่กับออกซิเจนอีกอะตอมหนึ่ง     
ซึ่งหมายความว่าพันธะทั้งสองในโมเลกุลนี้มีความยาวไม่เท่ากัน แต่จากการศึกษาพบว่า
ความยาวพันธะระหว่างอะตอมออกซิเจนทั้งสองพันธะมีค่า 128 พิโกเมตรเท่ากัน ซึ่ง
เป็นค่าความยาวพันธะระหว่างพันธะเดียวกับพันธะคู่ของออกซิเจน (ความยาวพันธะของ 
O – O และ O = O  เท่ากับ 148 และ 121 พิโกเมตร ตามลำดับ) แสดงว่าพันธะทั้ง
สองในโมเลกุลเป็นพันธะชนิดเดียวกัน ดังนั้นโครงสร้างลิวอิส (ก) หรือ (ข)   แบบใด
แบบหนึ่งที่แสดงไว้ตอนแรกใช้แทนโมเลกุล O3 ไม่ได้    จึงเขียนแทนด้วย



โครงสร้างเรโซแนนซ์ ดังนี้




Image result for แนวคิดเกี่ยวกับเรโซแนนซ์

รูปร่างของโมเลกุล


    รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ขึ้นอยู่กับ ทิศทางของพันธะโคเวเลนต์ , ความยาวพันธะ , 
และมุมระหว่างพันธะโคเวเลนต์รอบอะตอมกลาง
ทิศทางของพันธะขึ้นอยู่กับ
- แรงผลักระหว่างพันธะรอบอะตอมกลาง เพื่อให้ห่างกันมากที่สุด
-แรงผลักของอิเล็กตรอนคู่อิสระของอะตอมกลางที่มีต่อพันธะรอบอะตอมกลางแรงนี้
มีค่ามากกว่าแรงที่พันธะผลักกันเอง

รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ที่ควรรู้จัก
    1.รูปร่างเส้นตรง(Limear) 
    อะตอมกลาง Be ในโมเลกุล BeCl2 มีอิเล็กตรอนทั้งหมด 2 ตัว และทั้ง 2 ตัวเป็น
อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ ซึ่งจะผลักกันให้ห่างกันให้มากที่สุด ทำให้โมเลกุลเป็นรูปเส้นตรง 
มีมุมระหว่างพันธะ 180




    
    อะตอมกลาง C ในโมเลกุล CO2 มีเวเลนต์อิเล็กตรอน 4 ตัว และทั้ง 4 ตัวเป็น
อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ(เกิดพันธะคู่กับอะตอม O 2 พันธะ) ทำให้เกิดแรงผลักกันระหว่าง
พันธะให้ห่างกันมากที่สุด ทำให้โมเลกุลเป็นรูปเส้นตรง มีมุมระหว่างพันธะ 180 

    สรุป โมเลกุลของสารโคเวเลนต์ใดๆ ถ้าอะตอมกลางมี 2 พันธะ จะเป็น
พันธะชนิดใดก็ได้ และอะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว โมเลกุลจะมี
รูปร่างเป็นเส้นตรง


2. รูปร่างสามเหลี่ยมแบนราบ (Trigonal planar)

    อะตอมกลาง B ในโมเลกุล BCl3 มีเวเลนต์อิเล็กตรอน 3 ตัว และเป็น
อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะทั้งหมด (สร้างพันธะเดี่ยวกับอะตอม Cl 3 พันธะ) 
พันธะผลักกันให้ห่างกันมากที่สุด ทำให้โมเลกุลเป็นรูปสามเหลี่ยมแบนราบ 
มีมุมระหว่างพันธะเป็น 120 
    สรุป โมเลกุลโคเวเลนต์ใดๆ ถ้าอะตอมกลางมี 3 พันธะ 
(ไม่คำนึงถึงชนิดของพันธะ) และอะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 
โมเลกุลจะมีรูปร่างเป็น สามเหลี่ยมแบนราบ
3. รูปร่างทรงสี่หน้า
    อะตอม C ในโมเลกุล CH4 มีเวเลนต์อิเล็กตรอน 4 ตัว และเป็นอิเล็กตรอน
คู่ร่วมพันธะทั้งหมด (สร้างพันธะเดี่ยวกับอะตอม H 4 พันธะ) เกิดการผลักกัน
ระหว่างพันธะเพื่อให้ห่างกันมากที่สุด ทำให้โมเลกุลมีรูปร่างเป็นรูปทรงสี่หน้า 
มีมุมระหว่างพันธะเป็น 109.5 
    สรุป โมเลกุลโคเวเลนต์ใดๆ ถ้าอะตอมกลางมี 4 พันธะ (โดยไม่คำ
นึงถึงชนิดของพันธะ) และอะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
โมเลกุลจะมีรูปร่างเป็น ทรงสี่หน้า
4. รูปร่างพีระมิดฐานสามเหลี่ยม (Trigonal bipyramkial)
   
    อะตอมของ P ในโมเลกุล PCl5 มีเวเลนต์อิเล็กตรอน = 5 สร้างพันธะเดี่ยวกับ
อะตอมของ Cl ทั้ง 5 ต้ว ไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว พันธะผลักกันให้ห่างกันมาก
ที่สุด ทำให้โมเลกุลมีรูปร่างพีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยม มีมุมระหว่างพันธะเป็น
 120 และ 90 

        
        5. ทรงแปดหน้า (Octahedral)





    อะตอมของ S มีเวเลนต์อิเล็กตรอน = 6 อิเล็กตรอนทั้ง 6 ตัวสร้างพันธะ
เดี่ยวกับอะตอมของ F ทั้ง 6 ตัว (ไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว) อิเล็กตรอนคู่
ร่วมพันธะ(พันธะ) เกิดการผลักกันให้ห่างกันมากที่สุด จึงทำให้มีรูปร่าง
โมเลกุลเป็นรูปทรงแปดหน้า มีมุมระหว่างพันธะ 90 
สรุป โมเลกุลโคเวเลนต์ใดๆ ถ้าอะตอมกลางมี 6 พันธะ (ไม่คำนึงถึงชนิด

ของพันธะ) และอะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว รูปร่างโมเลกุล

เป็น ทรงแปดหน้า

อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวกับรูปร่างโมเลกุล
ตามปกติอิเล็กตรอนแต่ละคู่จะออกแรงผลักกัน แรงผลักของอิเล็กตรอนแต่ละคู่จะไม่เท่ากัน 
ซึ่งสามารถเขียนแรงผลักระหว่างอิเล็กตรอนคู่ต่างๆ จากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ อิเล็กตรอนคู่
โดเดี่ยวกับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว > อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวกับ
อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ > อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะกับอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ
        6. รูปร่างพีระมิดฐานสามเหลี่ยม
            
    อะตอม N ในโมเลกุล NH3 มีเวเลนต์อิเล็กตรอน = 5 สร้างพันธะเดี่ยวกับอะตอมของ H 3 พันธะ เหลืออิเล็กตรอนไม่ได้ร่วมพันธะ 1 คู่ (อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว) อิเล็กตรอนทั้ง 4 
คู่รอบอะตอมกลาง ( N ) จะผลักกันให้ห่างกันมากที่สุด แต่เนื่องจากแรงผลักระหว่าง
อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวกับอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ มีค่ามากกว่าแรงผลักระหว่างอิเล็กตรอน
คู่ร่วมพันธะผลักกันเอง จึงทำให้มุมระหว่างพันธะ H – N ลดลงเหลือ 107 และรูปร่าง
โมเลกุลเป็น รูปพีระมิดฐายสามเหลี่ยม 



        7. รูปร่างมุมงอ
    อะตอมกลาง O ในโมเลกุลของ H2O มีเวเลนต์อิเล็กตรอน = 6 สร้าง
พันธะเดี่ยวกับอะตอมของ H 2 พันธะ จึงมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 2 คู่ (4 ตัว) ซึ่ง
อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 2 คู่นี้ จะมีแรงผลักอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ มากกว่าแรงผลัก
กันของอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ ทำให้มุมระหว่างพันธะ H – O – H มีค่าลดลงเหลือ 
105 รูปร่างโมเลกุลจึงไม่เป็นเส้นตรง แต่เป็นรูปมุมงอหรือตัววี 
 ตัวอย่างตารางโครงสร้าง

Image result for รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ที่ควรรู้จัก























สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์
– โมเลกุลโคเวเลนต์ที่มีพันธะโคเวเลนต์แบบมีขั้ว อาจเป็นโมเลกุลมีขั้วหรือไม่มีขั้วก็ได้
– โมเลกุลโคเวเลนต์มีพันธะโคเวเลนต์แบบไม่มีขั้ว โมเลกุลก็ต้องไม่มีขั้วด้วย
– สภาพขั้วของของโมเลกุลขึ้นอยู่กับผลรวมเวกเตอร์ทางคณิตศาสตร์ของทุกพันธะ

ในโมเลกุลถ้าผลรวมเวกเตอร์หักล้างกันหมด (ผลรวมเวกเตอร์เท่ากับศูนย์) 
แสดงว่าเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว เช่น CO2
การพิจารณารูปร่างโมเลกุลโควาเลนต์
โมเลกุลโควาเลนต์ในสามมิตินั้น สามารถพิจารณาได้จากการผลักกันของอิเล็กตรอนที่มีอยู่
รอบๆ อะตอมกลางเป็นสำคัญ โดยอาศัยหลักการที่ว่า อิเล็กตรอนเป็นประจุลบเหมือนๆ กัน 
ย่อมพยายามที่แยกตัวออกจากกนให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ ดังนั้นการพิจารณาหา
จำนวนกลุ่มของอิเล็กตรอนที่อยู่รอบๆ นิวเคลียสและอะตอมกลาง จะสามารถบ่งบอกถึง
โครงสร้างของโมเลกุลนั้น ๆ ได้ โดยที่กลุ่มต่างๆ มีดังนี้
– อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
– อิเล็กตรอนคู่รวมพันธะได้แก่ พันธะเดี่ยว พันธะคู่ และพันธะสาม
ทั้งนี้โดยเรียงตามลำดับความสารารถในการผลักอิเลคตรอนกลุ่มอื่นเนื่องจาก อิเลคตรอน
โดดเดี่ยวและอิเลคตรอนที่สร้างพันธะนั้นต่างกันตรงที่อิเล็กตรอน โดยเดี่ยวนั้นถูกยึด
ด้วยอะตอมเพียงตัวเดียว ในขณะที่อิเล็กตรอนที่ใช้สร้างพันธะถูกยึดด้วยอะตอม 2 ตัวจึง
เป็นผลให้อิเลคตรอนโดดเดี่ยวมีอิสระมากกว่าสามารถครองพื้นที่ในสามมิติได้มากกว่า 
ส่วนอิเล็กตรอนเดี่ยวและอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว รวมไปถึงอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะแบบ
ต่าง ๆ นั้น
มีจำนวนอิเลคตรอนไม่เท่ากันจึงส่งผลในการผลักอิเลคตรอนกลุ่มอื่นๆ ได้มีเท่ากัน โครงสร้าง
ที่เกิดจกการผลักกันของอิเล็กตรอนนั้น สามารถจัดเป็นกลุ่มได้ตามจำนวนของอิเล็กรอนที่
มีอยู่ได้ตั้งแต่ 1 กลุ่ม 2 กลุ่ม 3 กลุ่ม ไปเรื่อยๆ เรียกวิธีการจัดตัวแบบนี้ว่า ทฤษฎีการผลัก
กันของคู่อิเล็กตรอนวงนอก (Valence Shell Electron Pair Repulsion : VSEPR) 
ดังภาพ
ภาพแสดงรูปร่างโครงสร้างโมเลกุลโควาเลนต์แบบต่างๆ
ตามทฤษฎี VSEPR
หมายเหตุ A คือ จำนวนอะตอมกลาง (สีแดง)
X คือ จำนวน อิเล็กตรอนคู่รวมพันธะ (สีน้ำเงิน)
                                 E คือ จำนวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว (สีเขียว)  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เฉลยบทที่1

เฉลย 1 ตอบ 1 2 ตอบ 4 3 ตอบ 1 4 ตอบ 3 5 ตอบ 1 6 ตอบ 3 7 ตอบ 1 8 ตอบ 2 9 ตอบ 4 10 ตอบ 1