วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561
พลังงานกับการเกิดสารประกอบไอออนิก
พลังงานกับการเกิดสารประกอบไอออนิก
1.
โลหะโซเดียมที่อยู่ในสถานะของแข็งระเหิดกลายเป็นไอ (กลายเป็นอะตอมในสถานะก๊าซ) ขั้นนี้ต้องใช้พลังงาน หรือดูดพลังงานเท่ากับ 109 kJ/mol เรียกพลังงานที่ใช้ในขั้นนี้ว่าพลังงานการระเหิด (Heat of siblimation) สัญลักษณ์ "
Hs" หรือ "S"
Na(s)+ 109 kJ---------------->Na(g).........(1)
+
พลังงาน
2.
โมเลกุลของคลอรีน (Cl2(g)) ซึ่งอยู่ในสถานะก๊าซแตกตัวออกเป็นอะตอมในสถานะก๊าซ (Cl(g))
Cl
(g) + 242 kJ -------------------> 2Cl(g)
+
พลังงาน
แต่ในการเกิด NaCl(s) 1 mol ต้องใช้ Cl(g) เพียง 1 mol ดังนั้น
Cl2(g) +121 kJ-------------------->Cl(g).........(2)
ขั้นนี้ต้องใช้พลังงานหรือดูดพลังงานเท่ากับ 121 kJ เรียกพลังงานที่ใช้ในขั้นนี้ว่า พลังงานสลายพันธะ หรือพลังงานการแตกตัว (Bond Dissociation energy) สัญลักษณ์ "
Hdis" หรือ "d"
3.
อะตอมของโซเดียมในสถานะก๊าซ เสีย 1 เวเลนซ์อิเลคตรอน กลายเป็นโซเดียมไอออนในสถานะก๊าซ ขั้นนี้ต้องใช้พลังงานหรือดูดพลังงาน 494 kJ/mol เรียกพลังงานที่ใข้ในขั้นนี้ว่า พลังงานไอออไนเซชั่น(Ionization Energy) สัญลักษณ์ "IE" หรือ "I"
Na(g)+494 kJ----------------->Na
(g) + e
.........(3)
+
พลังงาน
+
4.
คลอรีนอะตอมในสถานะก๊าซรับอิเลคตรอนกลายเป็นคลอไรด์ไอออนในสถานะก๊าซ(Cl-(g)) ขั้นนี้คายพลังงานออกมา 347 kJ/mol พลังงานที่คายออกมาในขั้นนี้เรียกว่า อิเลคตรอนอัฟฟินิตีหรือสัมพรรคภาพอิเลคตรอน (Electron Affinity) สัญลักษณ์ E หรือ EA
Cl(g)+e- -----------------> Cl-(g)+347 kJ...........(4)
+
+
พลังงาน
5.
โซเดียมไอออนในสถานะก๊าซ และคลอไรด์ไอออนในสถานะก๊าซรวมตัวกันด้วยพันธะไอออนิกได้ผลึกโซเดียมครอไรด์ (NaCl(s)) ขั้นนี้คายพลังงานออกมา 787 kJ/mol พลังงานที่คายออกมาในขั้นนี้เรียกว่าพลังงานแลคทิซ หรือพลังงานโครงร่างผลึก (Lattic Energy) สัญลักษณ์ U หรือ Ec
Na+(g) + Cl-(g) ---------------------->NaCl(s)+787 kJ.........(5)
+
+
พลังงาน
เมื่อเอาสมการ (1)+(2)+(3)+(4)+(5) จะได้สมการรวมหรือปฏิกิริยารวมดังนี้
Na(s)+
Cl
(g)-----------------------> NaCl(s)+410 kJ..........(6)
แสดงว่าในการเกิด NaCl(s) เป็นการเปลี่ยนแปลงประเภทคายพลังงาน คือ เมื่อเกิด NaCl 1 mol จะคายพลังงานเท่ากับ 410 kJ
พลังงานที่คายออกมาเรียกว่า พลังงานของปฏิกิริยาหรือความร้อนของปฏิกิริยาหรือความร้อนของการเกิดสาร สัญลักษณ์ "
Hf"
หมายเหต
ุ การเกิดสารประกอบไอออนิกอาจคายหรือดูดพลังงานก็ได้แต่มักจะคายพลังงาน
ที่มา
https://sites.google.com/site/chunyarat47158/phlangngan-kab-kar-keid-sarprakxb-xi-xx-nik
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
บทความใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เฉลยบทที่1
เฉลย 1 ตอบ 1 2 ตอบ 4 3 ตอบ 1 4 ตอบ 3 5 ตอบ 1 6 ตอบ 3 7 ตอบ 1 8 ตอบ 2 9 ตอบ 4 10 ตอบ 1
แบบจำลองอะตอม
โครงสร้างอะตอม นักปราชญ์ชาวกรีกชื่อดิโมคริตุส ( Demokritos) ได้ให้แนวคิดไว้ว่า หน่วยย่อยที่เล็ก ที่สุดของสารคือ อะตอม ซึ่ง...
สมบัติธาตุหมู่หลัก
สรุปเกี่ยวกับตารางธาตุ แบ่งธาตุในแนวตั้ง (หมู่) แบ่งออกเป็น 18 แถว โดยธาตุทั้งหมด 18 แถว แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ – กลุ่ม A มี 8 หม...
พันธะโลหะ
พันธะโลหะ พันธะโลหะ (Metallic bonding) เป็นพันธะภายใน โลหะ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ การเคลื่อนย้าย อิเล็กตรอน อิสระระหว่างแลตทิซขอ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น